ไฟฉุกเฉิน, ป้ายทางออก

ไฟฉุกเฉิน, ป้ายทางออก

ให้บริการดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. หากเป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ซื้อมาติดตั้งใหม่ ตั้งรอบในการดูแลรักษาระยะตาม วสท. 2004-58 ได้ทำการกำหนดไว้ดังนี้

การตรวจสอบราย 3 เดือน

สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 60 นาที ระหว่างช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้อง

การตรวจสอบราย 1 ปี

สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟทำงาน เป็นปกติ ระยะเวลาทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 90 นาที ระหว่างช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้อง ในการทดสอบนี้เป็นการทดสอบเบื้องต้นในการทำงาน ของโคมไฟฉุกเฉิน ทั้งนี้ในการทดสอบอาจต้องเลือกช่วงเวลาที่ ในการทดสอบด้วย เพราะหากเกิดเหตุว่าหลังการทดสอบและมีไฟดับ โคมไฟฉุกเฉินก็ไม่สามารถ ใช้งานได้ต้องชาร์ต ไฟเข้าไปใหม่

*** โคมไฟฉุกเฉินหากซื้อมาโคมไฟฉุกเฉินไม่ได้ต่อขั้วแบตเตอรี่มาด้วย ก่อนทำการ ชาร์ตไฟต้องต่อขั้วเสียก่อน


2. หากมีการนำไปใช้งานในระยะหนึ่ง ขั้วที่ต่อกับแบตเตอรี่อาจมีขี้เกลือ เกิดขึ้นให้ทำการทำความสะอาด โดยในรอบการบำรุง อาจอยู่ที่ทุก 6 เดือน


3. อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญคือหลอดไฟ โดยปกติหลอดไฟที่นิยมใช้ในการประกอบจะเป็นหลอดไฟ LED และหลอดนีออน ทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดเช็คทำความสะอาด


4. แบตเตอรี่ ถอดปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินออหลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องติดสว่าง โดยให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีหรือปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่ง วงจรรักษาแบตเตอรี่ (Automatic Low Voltage Cut-Off System) ของเครื่องไฟฉุกเฉินตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากทดสอบเสร็จ ให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินเข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมตามปกติ เพื่อเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ถ้าทำได้ทุกเดือนแบตเตอรี่จะใช้งานได้นาน 3 – 5 ปี